ให้รู้ด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา
ถ้ารู้ด้วยปัญญา มันก็ต้องปล่อย
ถ้าคิดด้วยปัญญา มันก็ต้องวาง
ถ้ารู้ด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา มันจะไม่มีทุกข์
มันจะมีความเบิกบาน มีความสำราญ มีความสงบ มีความระงับ เป็นอันเดียว
Slow Life , Happiness
ให้รู้ด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา
ถ้ารู้ด้วยปัญญา มันก็ต้องปล่อย
ถ้าคิดด้วยปัญญา มันก็ต้องวาง
ถ้ารู้ด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา มันจะไม่มีทุกข์
มันจะมีความเบิกบาน มีความสำราญ มีความสงบ มีความระงับ เป็นอันเดียว
หลักสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ กรรม หมายถึง ละเว้นการกระทำชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส ก็คือ สำรวมทั้งกายวาจาใจ ซึ่งก็คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
ในนิทาน ในนิยาย หรือเรื่องเล่าต่างๆ มักจะพูดถึงพวกที่ชั่วร้าย ซึ่งก็คือ ผู้ร้าย ซึ่งจะอยู่ตรงข้ามกับพวกพระเอกที่หมายถึงความดี ถ้ามองให้เป็นเรื่องของจิตใจ จะพบว่า ความชั่วร้ายจริงๆคือ ความเข้าใจผิด ความยึดมั่นถือมั่น ความหลงในตัวตนของตน ความอยากได้อยากมีอยากเป็น ความโกรธแค้นอาฆาตพยาบาท อะไรเหล่านี้ ซึ่งเป็นเรื่องของใจของเรา เรามีสิ่งต่างๆเหล่านี้อยู่ไหม ก็ต้องตอบว่า มีอยู่จริง มีมากกว่านี้อีก ความเกียจคร้าน ความฟุ้งซ่าน อะไรสารพัดที่ไม่ดีไม่งาม มีทั้งนั้น สิ่งเหล่านี้คืออะไร ก็คือปีศาจน้อยใหญ่ที่อาศัยในใจของเรา
กำจัดมันซะสิ
ทิฎฐิกับศรัทธา ต่างกันอย่างไร ?
ถ้าเปรียบเทียบกันให้เข้าใจง่ายที่สุด
ทิฎฐิ ก็คือ ทฤษฎี ส่วนศรัทธา คือ ความเชื่อมั่นในทฤษฎีนั้น
เช่นเรื่องของนรกสวรรค์ ทิฎฐิ ก็คือ มีนรกสวรรค์จริง หรือไม่จริง
ทฤษฎีหนึ่ง มีนรกสวรรค์ กับอีกทฤษฎีหนึ่งไม่มีนรกสวรรค์
แล้วเราศรัทธาในทฤษฎีไหนล่ะ คือจริงๆแล้วยังไม่รู้ว่าหรอกว่านรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ ศรัทธาก็คือเราแค่เชื่อ ตามทฤษฎีนั้นๆ อาจศรัทธาในตัวผู้สอน หรือพิจารณาโดยปัญญาแล้วว่ามันน่าจะใช่ แต่ก็ไม่ได้เห็นจริงหรือสัมผัสมาจริงๆด้วยตัวเอง
ทิฎฐิกับศรัทธา มันต่างกันอย่างนี้แหละ พอเข้าใจไหม