มหาสติปัฎฐานสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ตามดูกายในกายเนืองๆ อยู่ อย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่ ที่ว่างจากเรือนก็ดี นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติมุ่งตรง ต่อกัมมัฏฐาน เธอมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก

(๑) เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ว่า “เราหายใจเข้ายาว”
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ว่า “เราหายใจออกยาว”

(๒) เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ว่า “เราหายใจเข้าสั้น”
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ว่า “เราหายใจออกสั้น”

(๓) ย่อมศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้รู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า”
ย่อมศึกษาว่า “เราจักเป็นผู้รู้กองลมทั้งปวงหายใจออก”

(๔) ย่อมศึกษาว่า “เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า”
ย่อมศึกษาว่า “เราจักระงับกายสังขารหายใจออก”

ขันธ์ห้าทำงานอย่างไร?

คนชอบคิดไปว่า ตาเห็นรูป เกิดเวทนา จากนั้นก็เกิดสัญญา สังขาร วิญญาณ คือมี รูป เวทนาสัญญาณ สังขาร วิญญาณ ครบทั้งห้าตัว นั่นคือการทำงานของขันธ์ห้า จริงๆแล้วก็ไม่ผิดหรอก เพียงแต่  ขันธ์ห้าไม่ใช่เรื่องนอกกายนอกใจของเรา คำว่ารูปในขันธ์ห้ามันคือ รูปกาย คือร่างกายทั้งก้อนนี้เอง

ดังนั้น ถ้าจะพูดให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ก็น่าจะพูดว่า เมื่อสิ่งภายนอกมากระทบรูป ยกตัวอย่างเช่น แสงกระทบตา เกิดจักขุวิญญาณ เกิดสัญญา เกิดสังขาร เกิดเวทนา และก็เกิดมโนวิญญาณอีกตัว จบกระบวนการ และกระบวนการนี้ เกิดเร็วมาก จนเป็นก้อนเดียวกัน เกิดพร้อมกัน เพียงแต่ตัวพระเอกคือเวทนา ตัวประกอบอื่นๆไม่สำคัญ  พระท่านจึงสรุปย่อๆว่า เมื่อมีอารมณ์ มา กระทบอายะตนะ ก็คือมีผัสสะ จะก่อเกิดเวทนา  คำว่าเกิดในที่นี้ คือ ปรากฎ คือมันมีบทบาทขึ้นมาในตอนนี้ นั่นเอง

จากปฎิจจสมุปบาทกล่าวไว้ประมาณว่า  เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยทำให้ก่อเกิดสังขาร มีสังขารเกิดวิญญาณ มีวิญญาณเกิดนามรูป มีนามรูปเกิดอายะตนะ มีอายะตนะเกิดผัสสะ มีผัสสะเกิดเวทนา มีเวทนาเกิดตัณหา มีตัณหาเกิดอุปปาทาน มีอุปปาทานเกิดทุกข์

อวิชชาคือไม่รู้  .. ไม่รู้อะไร?  คือไม่รู้อริสัจ

อริยสัจข้อแรกคือ ทุกข์ หมายถึง ให้เรารู้ไตรลักษณ์ คือ ความจริงที่ว่า กายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวใช่ตนที่เราจะไปยึดมั่นถือมั่น  อันนี้แหละ คือทุกข์อริสัจที่ควรรู้

อริยสัจข้อต่อไปคือ สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหาอุปปาทาน คือการยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้การปล่อยวาง

อริยสัจข้อต่อไปคือ นิโรท คือ ความว่าง ความสว่าง ความสงบ ความระงับ ความสุข ที่เกิดจากการปล่อยวาง เราไม่ปล่อยวางเราก็ไม่รู้ถึงความสงบสุขอันนั้น

และอริสัจข้อสุดท้ายก็คือ มรรค คือหนทางการปฎิบัติให้ถึงความสงบสุขนั้น  คือการปฎิบัติเพื่อเรียนรู้ความเป็นจริงของกายนี้ใจนี้ คือปฎิบัติเพื่อละเพื่อวาง ถ้าไม่วางก็ไม่เห็นความจริง ถ้าวางแล้วก็จะเห็นความจริง เห็นความจริงว่า มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น มีปัญญาเห็นความจริงนั้นจนเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและหลุดพ้น   จบ

 

สโลไลฟ์ คือ อะไร?

สโลไลฟ์ ก็คือวิถีชีวิต หรือ แนวคิดใหม่ของคนเมืองน่ะ เปลี่ยนแนวคิดจากชีวิตคือการแข่งขันที่ทำให้ทุกคนแข่งกันหาเงินหาความสุขอย่างเอาเป็นเอาตาย มาเป็นการใช้ชีวิตแบบพอเพียง เข้าใจธรรมชาติของชีวิต ทานอาหารมีคุณค่า พักผ่อนเพียงพอ ทำงานเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ มีเวลาให้ครอบครัว และพระศาสนา

มันจะเป็นไปได้หรือ ?
มีแต่พวกรวยๆแล้วเท่านั้นล่ะมั้งที่ทำได้ ?

ใครก็ทำได้นะ ถ้ารู้จักตนเอง รู้จักงานของตน และตัดสินใจปรับปรุงมันเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

อย่างแรกที่จะต้องทำก็คือ จะสโลว์ไลฟ์ไม่ได้ ถ้าไม่มีเงิน !

เคยได้ยินใช่ไหม งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข

นั่นล่ะ ถึงจะสโลไลฟ์ยังไง ก็ต้องทำงาน งานต้องไม่เสีย  หมายความว่า เราทำงานอะไร ก็ทำงานนั้นให้ดีที่สุด รู้จักงาน  ตั้งใจทำงาน และปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเรา

ถ้าเราเป็นหัวหน้างาน ก็ต้องรู้จักลูกน้องของเรา รู้งาน รู้คน จัดคนให้ตรงกับงาน ประเมินผลงาน และปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของทีมงาน ก็คือพื้นฐานของหัวหน้างานอยู่แล้ว

สรุปก็คือ ทำงานของเราให้ดีที่สุด

แล้วมันสโลว์ไลฟ์ตรงไหน ?

สโลว์ตรงที่ว่า  ก่อนทำงาน เราพิจารณาก่อน ใช้สติ ใช้ปัญญา ไม่วิ่งวุ่น ไม่เปลืองพลังและเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ประมาณว่า เป็นมวยเชิง อ่านคู่ต่อสู้ก่อนจะออกหมัด ไม่เหวี่ยงหมัดมั่วๆเป็นมวยวัด ไม่เต้นไปรอบๆเวที เพียงตาจ้องไปที่คู่ต่อสู้ คุมเชิง มองจุดอ่อน คอยหลบหมัดคู่ต่อสู้ และยิงหมัดให้เข้าเป้า

ถ้าเป้าหมายของคนเราคือความสุข ก็มีความสุขในที่ทำงานซะเลยสิ

ใช่แล้วครับ เราควรมีความสุขในทุกที่ทุกเวลา ไม่เว้นแม้แต่ในที่ทำงาน   ซึ่งก็ไม่ยาก เพราะปัจจัยมันอยู่ที่ตัวเราเอง  ที่ทำงานของเราควรมีบรรยากาศที่ดี  คือ สะอาด สว่าง สงบ  เรื่องสว่างก็คงไม่ยาก แค่เปิดไฟก็คงสว่างหรือติดหลอดไฟเพิ่มซะถ้าสว่างไม่พอ  เรื่อง สะอาด ก็ไม่ยากเช่นกัน โต๊ะทำงานของเราต้องเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีของอะไรเยอะแยะ  ทำเองเลย ปัดกวาดเช็ดถูลงมือด้วยตัวเอง  ถ้าเรามาเช้าหน่อยก็ปัดกวาดห้องทำงานไปซะด้วยเลย จัดให้มันดูดี สะอาด เป็นระเบียบ ดูดี ใครก็ชอบ   แต่เรื่องสงบน่ะสิ อาจยากนิดนึง เพราะที่ทำงานบางทีก็มีคนทะเลาะกัน ไม่พอใจกัน พูดไม่ดีต่อกัน  บรรยากาศแบบนี้ทำให้ที่ทำงานมีปัญหาได้   แต่เราจะทำอย่างไรได้ มันเป็นเรื่องของคนอื่น

ที่ทำงานเราก็อยากให้มีความสามัคคี กลมเกลียว งานก็เดิน และบรรยากาศก็สงบสุข  แต่ถ้าไม่เป็นแบบนั้น เราควรจะทำอย่างไร

ถ้าเราเป็นหัวหน้างาน เราก็แก้ปัญหาที่สาเหตุ ใครไม่ชอบอะไรกันก็ต้องมีเหตุทั้งนั้น  ถ้าแก้ไม่ได้จริงๆก็แค่ปรามๆซะ แต่ถ้าเราไม่ใช่หัวหน้าล่ะ ทำอย่างไร   ที่ทำงานบางแห่งเค้าแตกกันเป็นก๊กๆ แถมประวัติศาสตร์ความขัดแย้งก็ยาวนาน สิ่งที่เราทำได้ในบรรยากาศแบบนั้นก็คือ ปล่อยวาง ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ก็พอ

สรุป

สโลว์ไลฟ์ เป็นการใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับพระพุทธศาสนา ใช้ชีวิตอย่างสมถะ หรือ พอเพียง นั่นเอง