ขันธ์ห้าทำงานอย่างไร?

คนชอบคิดไปว่า ตาเห็นรูป เกิดเวทนา จากนั้นก็เกิดสัญญา สังขาร วิญญาณ คือมี รูป เวทนาสัญญาณ สังขาร วิญญาณ ครบทั้งห้าตัว นั่นคือการทำงานของขันธ์ห้า จริงๆแล้วก็ไม่ผิดหรอก เพียงแต่  ขันธ์ห้าไม่ใช่เรื่องนอกกายนอกใจของเรา คำว่ารูปในขันธ์ห้ามันคือ รูปกาย คือร่างกายทั้งก้อนนี้เอง

ดังนั้น ถ้าจะพูดให้ถูกต้องยิ่งขึ้น ก็น่าจะพูดว่า เมื่อสิ่งภายนอกมากระทบรูป ยกตัวอย่างเช่น แสงกระทบตา เกิดจักขุวิญญาณ เกิดสัญญา เกิดสังขาร เกิดเวทนา และก็เกิดมโนวิญญาณอีกตัว จบกระบวนการ และกระบวนการนี้ เกิดเร็วมาก จนเป็นก้อนเดียวกัน เกิดพร้อมกัน เพียงแต่ตัวพระเอกคือเวทนา ตัวประกอบอื่นๆไม่สำคัญ  พระท่านจึงสรุปย่อๆว่า เมื่อมีอารมณ์ มา กระทบอายะตนะ ก็คือมีผัสสะ จะก่อเกิดเวทนา  คำว่าเกิดในที่นี้ คือ ปรากฎ คือมันมีบทบาทขึ้นมาในตอนนี้ นั่นเอง

จากปฎิจจสมุปบาทกล่าวไว้ประมาณว่า  เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัยทำให้ก่อเกิดสังขาร มีสังขารเกิดวิญญาณ มีวิญญาณเกิดนามรูป มีนามรูปเกิดอายะตนะ มีอายะตนะเกิดผัสสะ มีผัสสะเกิดเวทนา มีเวทนาเกิดตัณหา มีตัณหาเกิดอุปปาทาน มีอุปปาทานเกิดทุกข์

อวิชชาคือไม่รู้  .. ไม่รู้อะไร?  คือไม่รู้อริสัจ

อริยสัจข้อแรกคือ ทุกข์ หมายถึง ให้เรารู้ไตรลักษณ์ คือ ความจริงที่ว่า กายนี้ใจนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวใช่ตนที่เราจะไปยึดมั่นถือมั่น  อันนี้แหละ คือทุกข์อริสัจที่ควรรู้

อริยสัจข้อต่อไปคือ สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ คือ ตัณหาอุปปาทาน คือการยึดมั่นถือมั่น ไม่รู้การปล่อยวาง

อริยสัจข้อต่อไปคือ นิโรท คือ ความว่าง ความสว่าง ความสงบ ความระงับ ความสุข ที่เกิดจากการปล่อยวาง เราไม่ปล่อยวางเราก็ไม่รู้ถึงความสงบสุขอันนั้น

และอริสัจข้อสุดท้ายก็คือ มรรค คือหนทางการปฎิบัติให้ถึงความสงบสุขนั้น  คือการปฎิบัติเพื่อเรียนรู้ความเป็นจริงของกายนี้ใจนี้ คือปฎิบัติเพื่อละเพื่อวาง ถ้าไม่วางก็ไม่เห็นความจริง ถ้าวางแล้วก็จะเห็นความจริง เห็นความจริงว่า มันไม่เที่ยงเป็นทุกข์ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น มีปัญญาเห็นความจริงนั้นจนเกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัดและหลุดพ้น   จบ

 

พ้นทุกข์ด้วยปัญญา

ให้รู้ด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา

ถ้ารู้ด้วยปัญญา มันก็ต้องปล่อย
ถ้าคิดด้วยปัญญา มันก็ต้องวาง
ถ้ารู้ด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา มันจะไม่มีทุกข์
มันจะมีความเบิกบาน มีความสำราญ มีความสงบ มีความระงับ เป็นอันเดียว